พระเครื่องรางสยาม


บัตรรับรองพระแท้ - พระสมเด็จเกษไชโย พิมพ์ 7 ชั้น อกวี
ชื่อพระ

พระสมเด็จเกษไชโย พิมพ์ 7 ชั้น อกวี

รายละเอียดพระเพิ่มเติม

พระสมเด็จวัดเกศไชโย 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จ ที่สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร คือ ต้องมีลักษณะของ ‘อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก’ เกือบ ทุกพิมพ์ทรง ตามบันทึกของ พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) และ นายกสัชฌุกร ซึ่งได้บันทึกจากการบอกเล่าของ พระธรรมถาวร จันทโชติ สามเณรที่ช่วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ตำผงมวลสาร เพื่อสร้างพระสมเด็จ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2409 ที่ วัดระฆังโฆสิตาราม พระที่สร้างขึ้นในสมัยนั้นมีทั้ง 3 ชั้น และ 7 ชั้น ซึ่ง “พิมพ์ 7 ชั้น” ได้นำไปบรรจุไว้ที่ วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง การสร้างพระสมเด็จฯ เกษไชโย พิมพ์มาตรฐาน...เป็นที่ยอมรับของวงการพระว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น ท่านได้สร้าง พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ, พระสมเด็จฯ เกษไชโย และ พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม ว่ากันว่า เมื่อสมเด็จฯ ท่านสร้างพระพิมพ์ ๖ ชั้น และ ๗ ชั้นแล้ว ได้นำไปบรรจุไว้ที่ฐานหรือองค์พระโตที่ท่านสร้างไว้ที่วัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย จ.อ่างทอง เมื่อพระโตได้พังทลายลงมา พระจึงเผยแพร่ออกมา พระโตองค์นี้ได้พังลงมาถึงสองครั้ง ครั้งแรกมีคนนำไปบางส่วน อีกส่วนนำกลับไปบรรจุเมื่อซ่อมพระเสร็จ เมื่อพระโตพังลงมาอีกครั้งใน พ.ศ.๒๔๓๐ ก็มีพระออกมาอีก การบรรจุพระสมเด็จฯ ไว้ในพระพุทธรูป ในหนังสือ อาณาจักรพระเครื่อง ฉบับที่ ๘๕ หน้า ๒-๑๗ มีบทความ “ข้อพิจารณา พระสมเด็จ พระสมเด็จวัดไชโย” เขียนโดย “นิรนาม” มีข้อความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบรรจุพระสมเด็จฯ วัดไชโย ไว้ในองค์พระพุทธรูป พระมหาพุทธพิมพ์” ดังมีรายละเอียดบางตอนดังนี้ “หลังจากการสร้างพระมหาพุทธพิมพ์เสร็จแล้ว ท่านเจ้าพระยารัตนบดินทร (บุญรอด) ได้ประกาศป่าวร้องให้ราษฎรที่เก็บเอาพระพิมพ์สมเด็จ (ที่แตกออกมาเมื่อพระพุทธรูปปูนปั้นใหญ่องค์เดิมพังลงมา) ไป ให้นำเอามาคืนให้หมด ก็ด้วยความเกรงกลัวในอาญาแผ่นดินเป็นที่ตั้ง ใครได้มาก็มิได้บิดพลิ้วเก็บงำเอาไว้เลยสักองค์เดียว มีอยู่เท่าไรก็เอามาคืนกันหมดทุกครัวเรือน ก็อย่างว่าแหละครับ ค่านิยมสำหรับพระเครื่องสมัยก่อนโน้นยังไม่มี เป็นของแจกฟรี มีอยู่ทั่วไป เสร็จแล้วท่านจะคืนให้บ้านละองค์สององค์ ตามสมควรแก่กรณี ที่เหลือนั้น ท่านเจ้าพระยารัตนบดินทร ได้นำบรรจุคืนกลับเข้าไว้ในองค์พระพุทธรูปมหาพุทธพิมพ์ เหมือนเดิม พระสมเด็จวัดไชโย ที่แตกกรุเมื่อครั้ง เจ้าพระยาบดินทร (บุญรอด) ขึ้นไปบูรณะพระอารามวัดไชโย (เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐) และเรียกเก็บพระสมเด็จวัดไชโยที่ประชาชนเอาไปกลับเอาบรรจุในพระมหาพุทธพิมพ์ และแจกให้บ้านละองค์สององค์นั้น ประชาชนในพื้นบ้านวัดไชโยทั้งสองฝั่ง (แม่น้ำเจ้าพระยา) ในสมัยก่อนจึงมีพระสมเด็จวัดไชโยที่ว่าอยู่ทุกบ้าน แต่มิได้เก็บงำเอาไว้ด้วยความหวงแหน ครั้นพอค่านิยมในพระเครื่องพระสมเด็จมีแนวโน้มสูงขึ้นบ้าง ก็ให้ไปฟรีๆ ที่ดีหน่อยก็ปล่อยไปในราคาถูกๆ องค์ละไม่กี่บาท คุณครูชั้น บูรณะไทย ท่านเล่าว่า พระสมเด็จวัดไชโยในพื้นบ้านนั้น ที่ปล่อยออกเป็นองค์สุดท้ายที่ได้ราคามากที่สุด คือ องค์ของตาอู๊ด คือ ปล่อยไปได้ตั้ง ๓,๐๐๐ บาท (สามพันบาท) เป็นที่โจษจันกันทั่วทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บ้างก็บ่นเหมือนเสียดาย เหมือนคนไม่รู้ค่า แต่พอจะทราบว่าอะไรเป็นอะไรก็สายไปเสียแล้ว ปัจจุบันเอากันแค่ขอดูเป็นแบบอย่างกระทั่งยาก” ความข้างต้นนี้ น่าเชื่อถือได้ไม่น้อย เพราะท่านผู้เขียน (“นิรนาม”) ได้สอบถามจากคนท้องถิ่นเอง ชื่อ คุณครูชั้น บูรณะไทย กับ คุณลุงไข่ เพ็งขจร อายุการสร้าง พระสมเด็จฯ เกษไชโย น่าจะมีอายุไล่ๆ กับพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ บางขุนพรหม เหตุที่ว่านี้ก็เพราะได้มีการพบ พระสมเด็จฯ เกษไชโย นี้บรรจุอยู่ในพระเจดีย์รวมกับ พระสมเด็จฯ วัดบาง ขุนพรหม ด้วย นักเล่นพระบางท่าน เช่น คุณกิตติ ธรรมจรัส (เฮียกวง) และคุณสมศักดิ์ คงวุฒิปัญญา (เฮียยี่ บางแค) ยืนยันว่า เคยมีพระสมเด็จฯ วัดไชโย ที่บรรจุในเจดีย์วัดบางขุนพรหมนี้ผ่านมือประมาณ ๓-๔ องค์ พระที่ได้มีคราบกรุคล้ายกับคราบกรุของพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม จะแตกต่างบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้น อาจคาดคะเนตามหลักเหตุผล (อนุมาน) ได้ว่า พระสมเด็จฯ วัดเกษไชโย น่าจะมีอายุพอๆ กับพระสมเด็จฯ วัดระฆัง แต่อาจจะสร้างก่อนพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม ไม่นาน ทั้งนี้ก็สอดคล้องกับบันทึกของ ท่านเจ้าคุณทิพยโกษา ที่ให้รายละเอียดไว้ พิมพ์ทรงพระ พิมพ์ของพระสมเด็จฯ เกษไชโย มีเอกลักษณ์แตกต่างจาก พระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม คือ ทุกพิมพ์ต้องมี กรอบกระจก และอกมีร่อง หูบายศรี (ยกเว้นพิมพ์ ๗ ชั้นอกตัน) อีกทั้งมีฐานมากกว่า ๓ ชั้น คือ มีฐาน ๖ ชั้น และฐาน ๗ ชั้น (บางท่านว่าบางพิมพ์มีฐาน ๕ ชั้น) พิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ เกษไชโย มีดังนี้ พิมพ์ ๗ ชั้น ได้แก่ ๑.พิมพ์ ๗ ชั้น นิยม (พิมพ์ใหญ่) ๒.พิมพ์ ๗ ชั้น หูประบ่า ๓.พิมพ์ ๗ ชั้น ไหล่ตรง ๔.พิมพ์ ๗ ชั้น นักเลงโต (แขนติ่ง) ๕.พิมพ์ ๗ ชั้น แข้งหมอน ๖.พิมพ์ ๗ ชั้น อกวี ๗.พิมพ์ ๗ ชั้น แขนกลม ๘.พิมพ์ ๗ ชั้น อกตัน ๙.พิมพ์ ๗ ชั้น พิมพ์ล่ำ และ ๑๐.พิมพ์ ๗ ชั้น ปรกโพธิ์ พิมพ์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑.พิมพ์ ๖ ชั้น อกตัน ๒.พิมพ์ ๖ ชั้น อกตลอด ๓.พิมพ์ ๖ ชั้น แบบ ๗ ชั้น นิยม ๔.พิมพ์ ๖ ชั้น ไหล่ตรง ๕. พิมพ์ ๖ ชั้น ล่ำอกตลอด ๖.พิมพ์ ๖ ชั้น เข่ากว้าง ๗.พิมพ์ ๖ ชั้น พิมพ์ต้อ และพิมพ์ ๕ ชั้น เนื้อพระ เป็นพระเนื้อผงขาว เช่นเดียวกับ พระสมเด็จฯ วัดระฆัง และพระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหม เนื้อพระละเอียด เพราะผ่านการกรอง และตำผงมาอย่างดี มีมวลสารเป็นจุดสีขาวขุ่น จุดสีแดงอิฐ และจุดสีดำ คล้ายถ่านหรือใบลานเผา จุดสีน้ำตาลของเกสรดอกไม้ พระสมเด็จฯ เกษไชโย มีคราบกรุบาง หรือแทบไม่มีคราบกรุเลย เพราะถูกบรรจุไว้ในที่แห้ง และอยู่ในกรุไม่นานนัก จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีอายุน้อยกว่า พระสมเด็จฯ วัดระฆัง หรือ วัดบางขุนพรหม แต่พระที่ถูกใช้สัมผัสจะหนึกนุ่มและเนื้อจัด พระที่ไม่ใช้จะแห้งและสีออกขาว พระบางองค์แตกลายงา พิจารณาโดยรวมแล้ว เนื้อพระจะละเอียดและแข็งกว่าของพระสมเด็จฯ อีกสองสำนัก

เลขที่รายการ

PMPKRS00100

ผู้ตั้งประมูล

ID85540 (1)  (0)  (0)

สถานะ

ปิดประมูล

จำนวนเข้าชม
6,427
วันที่เริ่มประมูล

20 พ.ย. 2565 เวลา 13:13

วันที่ปิดประมูล

20 ธ.ค. 2565 เวลา 13:14

ราคาเปิดประมูล
100
เพิ่มครั้งละ

100

ประวัติการเสนอราคา

ผู้เสนอราคา
ราคา
เวลา

ผู้ชนะประมูล

ไม่มีผู้ชนะประมูล

เสนอราคา

ราคาเคาะ (เพิ่มครั้งละ 100)